เผยลูกยิงของไค ฮาร์แวร์ทซ์ ที่ยิงซ้ำลูกยิงจุดโทษของเขาในเกมกระชับมิตรระหว่างเยอรมนีกับเปรูเมื่อคืนที่ผ่านมาไม่ถือว่าเป็นประตูอันเนื่องมาจากกฏที่แปลกๆ ข้อนึง

          ลูกยิงของ ไค ฮาแวร์ทซ์ ที่เป็นการยิงซ้ำหลังจากลูกยิงจุดโทษของเขาไปชนเสาและกระดอนออกมานั้นแม้จะตุงตาข่ายไปแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นประตูเพราะยึดตามกฏที่แปลกๆ ข้อนึง โดยในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในยุโรปเริ่มต้นแคมเปญ ยูโร 2024 รอบคัดเลือกในช่วงเบรคทีมชาตินี้ เยอรมนี ก็ดูจะผ่อนคลายกว่าใครเนื่องจากพวกเขาผ่านเข้ารอบโดยอัตโนมัติในฐานะชาติเจ้าภาพ และพวกเขาจะเล่นเกมกระชับมิตรในขณะที่รอบคัดเลือกกำลังดำเนินอยู่

          และเมื่อคืนที่ผ่านมา (เสาร์ที่ 25 มีนาคม 2566) พวกเขาพบกับเปรูที่สนามเมวา อารีน่า ในเมืองไมนซ์ และถือเป็นค่ำคืนของกองหน้าแวร์เดอร์ เบรเมน อย่าง นิคลาส ฟูลล์ครูก เพราะเขาทำสองประตูในครึ่งแรกช่วยให้ทัพอินทรีเหล็กเอาชนะไป 2-0 อย่างไรก็ตาม เขาสามารถเดินออกจากสนามไปพร้อมกับลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันเกมนี้หากเขาได้ยิงจุดโทษในครึ่งหลัง โดยในนาทีที่ 68 เยอรมนีได้โอกาสขึ้นนำ 3-0 จากลูกที่จุดโทษ 

         อย่างไรก็ตาม แทนที่จะมอบให้ฟูลล์ครูกทำแฮตทริก ฮาแวร์ทซ์กลับหยิบบอลขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่นั้นเอง ดาวเตะเชลซีไม่ได้มีสถิติยิงจุดโทษที่ดีที่สุดหลังจากเพิ่งพลาดไปในเกมยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก นัดที่เจอกับโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ เมื่อไม่นานมานี้ แม้ว่าเขาจะมีโอกาสให้แก้ตัวด้วยการยิงใหม่ก็ตาม และในทำนองเดียวกัน ครั้งนี้ฮาแวร์ทซ์ยิงไปชนเสาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้บอลกระดอนมาเข้าทางเขาและฮาแวร์ทซ์ก็ส่งบอลตุงตาข่าย

          อย่างไรก็ตามกรรมการตัดสินว่าไม่เป็นประตูแบบไม่ลังเล สาเหตุคืออะไร? มันเป็นกฎที่เราแทบจะไม่เคยเห็นในวงการฟุตบอล โดยตามกฏระบุไว้ว่า "คนยิงจะต้องไม่เล่นบอลอีกจนกว่าจะโดนผู้เล่นอื่นก่อน" นั่นหมายความว่า แม้ว่ามันจะชนเสา ผู้เล่นคนเดียวกันก็ไม่สามารถสัมผัสบอลได้จนกว่าผู้เล่นคนอื่นจะสัมผัสก่อน กฏเดียวกันใช้กับผู้เล่นที่ลื่นและเตะบอลสองครั้งโดยไม่ตั้งใจ ดังที่เราเห็นจุดโทษของอเล็กซานดาร์ มิโตรวิช ในเกมระหว่างฟูแล่มกับนิวคาสเซิ่ลเมื่อเดือนมกราคม

          แม้ว่าหลายคนจะทราบดีถึงกฎดังกล่าว แต่แฟนบอลหลายคนก็ยอมรับว่าเพิ่งเคยเห็นกฏนี้ถูกนำมาใช้ในสนาม แฟนๆ ใน Reddit จำนวนมากได้ออกมาตอบสนองต่อการที่ลูกยิงดังกล่าวไม่เป็นประตู ความคิดเห็นก็อย่างเช่น "ฉันดูฟุตบอลมานานกว่า 40 ปีและนี่เป็นครั้งแรกที่ฉันเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้น", “ฉันไม่เคยได้ยินกฎนี้เลย ฮ่าๆๆ”, "มีใครอธิบายกฎนี้ได้บ้าง", “ฉันไม่เข้าใจจริงๆ แต่ก็โอเคนะ”

 

 

ที่มาของภาพ: gettyimages.com