วิชาญน้อย พรทวี ได้รับการยกย่องเป็นยอดมวยไทยระดับตำนาน ผ่านสังเวียนเลือดโชกโชน ถูกยกให้เป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ยอดมวยไทยในตำนาน อย่างมิพักต้องสงสัย

คำอาลัย...ยอดมวยเมืองนนท์

 

            เชิดชู ครูชีพ

            สิ้นตำนาน อมตะมวยสยาม          กระเดื่องนาม นานมา ฉายราศี

เพียงเอ่ยชื่อ วิชาญน้อย พรทวี       การันตี ฝีมือระบือชาญ

            จากยอดมวยเมืองนนท์จนยิ่งใหญ่   มาเป็นยอมมวยไทยให้คนขาน

ที่สามารถยืนยงในวงการ  มีผลงานหนุนนำฟ้าอำนวย

            จากรุ่นราวคราวตนจนรุ่นน้อง        ต่างยกย่องฝีมือนับถือด้วย

ค้ากำปั้นเก็บกำจนร่ำรวย  เป็นยอดมวยอมตะว่าชั้นครู

            ถึงจะแก่แต่เก๋าเฒ่าพิษสง            วางแผนส่งเสริมศรีชีวิตสู้

ไม่ขัดสนบั้นปลายเป้าหมายรู้        รุ่นหลังควรเชิดชูเป็นครูตน

           อมตะตำนานวิชาญน้อย         จารึกรอยเพชรยินดีทวีผล

ประดับวงการมวยด้วยอีกคน         น้อมกมลคารวะอาลัยเอยฯ

                         เชี่ยว ยโสธร..ประพันธ์

 

 

            คำกล่าวอาลัยในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ ชูชีพ เอี่ยมเอิบ หรือ วิชาญน้อย พรทวี นักชกหลายสมญานาม ยอดมวยอมตะ,ยอดมวยเมืองนนท์ ,จงอางห่วงไข่,เฒ่าสารพัดพิษ เมื่อเย็นวันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ณ วัดบางแพรกเหนือ จ. นนทบุรี 

           

            ประวัติที่ทางญาติได้กล่าวอาลัยหน้าเมรุก่อนทำพิธี

            นายชูชีพ เอี่ยมเอิบ เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2491 ที่จ.ปทุมธานี เป็นบุตรของนายปลิว กับ นาง ทวี เอี่ยมเอิบ มีพี่น้อง 5 คน

             1. นายประชุม เอี่ยมเอิบ (ถึงแก่กรรม)

            2. นายดิเรก เอี่ยมเอิบ (ถึงแก่กรรม)

            3.นายเชิดศักดิ์ เอี่ยมเอิบ (เชิดศักดิ หัวโต หัวหน้าคณะ ณ นนทชัย)

            4. นายชูชีพ เอี่ยมเอิบ(ผู้วายชนม์)

            5. นางจิระ ชินวร (ถึงแก่กรรม)

            จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ่อเงิน จ.ปทุมธานี

            นายชูชีพ สมรสกับนางธนพร เอี่ยมเอิบ มีบุตร ธิดา 4 คน

          1.นายชัชพล เอี่ยมเอิบ

          2.นางสาว ธนินี เอี่ยมเอิบ

            3. นางสาว สุกาณฎา เอี่ยมเอิบ

            4. นางสาว สุณิตา เอี่ยมเอิบ

             ("หลานชายยักษ์สุข" สกัด พรทวี เพื่อนรุ่นน้องร่วมค่ายไหว้ครูหน้าเมรุ ท่ามกลางสายฝน

                ชีวิตบนสังเวียนผ้าใบ เริ่มต้นตอนอายุ 12 ปี เด็กชายชูชีพ ต้องการดูมวยฟรี จึงขอเข้าเปรียบมวยสดในสนามมวยแล้วขึ้นชก

            หลังจากการชกครั้งนั้นเด็กชายชูชีพตัดสินใจเข้าฝึกฝนมวยไทยอย่างจริงจังในค่ายศรีเมืองนนท์ ตามอย่างพี่ชายทั้ง 2 คนซึ่งเป็นนักมวยอยู่ในขณะนั้น มีครูมวยคนแรกคือ ครูเฉลียว ปินตะโมระ ชกในชื่อ วิชาญน้อย ศรีเมืองนนท์ การชกครั้งแรกเดิมพัน 5,000 บาท ชกชนะได้ค่าตัว 100 บาท  และส่วนแบ่งเดิมพัน 500 บาท เพราะเกิดมาเป็นเด็กตลาด แต่บ้านยากจน รวมถึงได้รับการเลี่ยงดูปลูกฝังอย่างเข้มงวดจากคุณแม่ทวี ทำให้เป็นคนใจสู้ไม่ยอมคน ขยัน อดทน  มีวินัย ทั้งยังมี ความชอบในกีฬามวยเป็นทุนเดิม วิชาญน้อยจึงมีความมุมานะมุ่งมั่นในการชกมวยอย่างยิ่ง เมื่อประกอบกับพรสวรรค์ที่มีอยู่จึงช่วยส่งให้วิชาญน้อยเป็นนักมวยมีฝีมือ

        ( "ไอ้หมูแข้งทอง" ผุดผาดน้อย วรวุฒิ คู่ปรับเก่า เพื่อนรักรุ่นน้องบวชอุทิศส่วนกุศลให้

       ในปี 2510 อายุ 19 ปี วิชาญน้อยได้แชมป์รุ่นฟลายเวต  112 ปอนด์จากเวทีลุมพินีเป็นเส้นแรกปี 2511 ได้แชมป์รุ่นฟลาตเวต 112 ปอนด์จากเวทีราชดำเนิน นับเป็นความยิ่งใหญ่ในฐานะนักมวยไทยที่ครองมป์เวทีใหญ่พร้อมกัน 2 เส้น และยังป้องกันแชมป์ได้อีกหลายครั้งก่อนสละแชมป์ในที่สุด เพราะต้องเปลี่ยนรุ่น

            วิชาญน้อย เป็นนักมวยตัวเล็กแต่มักแบกน้ำหนักขึ้นชกกับนักมวยน้ำหนักมากกว่า

            ต่อมาวิชาญน้อย ย้ายอยู่ค่าย พรทวีของ ส.ส.บุญเยี่ยม โสภณ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น วิชาญน้อย พรทวี ได้แชมป์รุ่นจูเนียร์ไลต์เวต  130 ปอนด์จากเวทีราชดำเนินและรักษาแชมป์นี้ไว้ได้นานถึง 5 ปี พร้อมก้าวเข้าสู่การเป็น “ยอดมวยแม่เหล็ก” ได้รับรางวัล “นักมวยยอดเยี่ยม”  ปรจะปี 2520 จากเวทีราชดำเนิน

            วิชาญน้อยเป็นมวยฝีมือครบเครื่องเน้นใช้สติปัญญา มีความสามารถในการแก้เกมหลากหลาย ทักษะมี มีความเฉียบคมและแม่นยำในการออกอาวุธ ถนัดขวา เตะตีนหน้าเก่ง อาวุธที่โดดเด่นคือ การเตะพับน้อพับใน เหลี่ยมหน้าดี หมัดหนักและแม่นยำตีหน้ายักษ์ ข่มคู่ต่อสู้ ตลอดชีวิตการชกมวย วิชาญน้อยได้ขึ้นชกกับนักมวยที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น

            พุฒ ล้อเหล็ก,ดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์,ผุดผาดน้อย วรวุฒิ,แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์,หรองคาย ศ.ประภัสสร, ณรงค์น้อย เกียรติบัณฑิต,ขาวผ่อง สิทธิชูชัย,ขุนพลน้อย เกียรติสุริยา, โพธิ์ไทร สิทธิบุญเลิศ เป็นต้น

            วิชาญน้อย ใช้ชีวิตบนสังเวียนอย่างโชแกโชน มีสถิติการชกมากกว่า 200 ครั้ง จนได้รับฉายา เฒ่าสารพัดพิษและยอดมวยอมตะ มีค่าตัวสูงสุด 250,000 บาท

           (ครอบครัว วิชาญน้อย ตั้งแถวอ่านคำไว้อาลัย ก่อนพิธีพระราชทานเพลิงศพ

         หลังจากการชกมวยได้ 20 ปี วิชาญน้อยประกาศแขวนนวมในปี 2523 เพื่อช้ชีวิตสร้างครอบครัวต่อไป หลังแขวนนวม วิชาญน้อย ลงสมัคร และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบางเมืองนนทบุรี 2 สมัยในนาม “กลุ่มพลังหนุ่ม” ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบฐจมาภรณ์มงกุฎไทยในฐานะบุคคลผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ ได้รับรางวัล Hall of Fame  สยามกีฬาอมอร์ด ประจำปี 2557

                           ( นักร้องดัง แอ๊ด คาบาราว พร้อมอดีตยอดนักมวยร่วมงาน)

     ชีวิตส่วนตัวของวิชาญน้อย และครอบครัว ประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัทบุญรอดบริวเวอร์รี่  วิชาญน้อยเป็นผู้เข้าใจในชีวิต เฉลี่ยว ฉลาด มีอุปนิสัยอันเป็นมิตร ใจกว้าง มากน้ำใจ จึงเป็นผู้มีบริหารที่ดี มีมิตรสหายกว้างขวาง หลากหลายวงการเป็นที่รักของผู้คนที่รายล้อม

            ในครอบครัววิชาญน้อยเป็นสามีที่รัก และให้เกียรติภรรยา มีความเมตตา เอื้ออาทร มอบความรักความอบอุ่นและเป็นที่พึ่งพิงให้แก่ลูกๆหลานทุกคน

                      ( เชิดศักดิ์ ศรีเมืองนนท์ อดีตนักมวยเก่า พี่ชายแท้ๆ วิชาญน้อย

         ช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต วันที่ 23 มกราคม 2565 วิชาญน้อย มีอาการขับถ่ายปัสสาวะติดขัดผิดปกติ เบื่ออาการ วิงเวียน อ่อนเพลียมาก เข้ารับการรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาลเปาโลเกษตร แพทย์วินิจฉัยว่าเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ไตวายเฉียบพลัน ติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นรเหตุให้ถึงแก่กรรมในวันที่ 31 มกราคม 2565 เวล่ 20.50 น. สิริอายุได้ 74 ปี 6 วัน

         (บรรดาอดีตยอดมวยถ่ายรูปหลังพิธีพระราชทานเพลิงศพผ่านพ้นเรียบร้อยแล้ว

       งานพระราชทานเพลิงศพ วิชาญน้อย ครั้งนี้ปรากฏว่ามีอดีตยอดมวยไทยไปร่วมงานกันอย่างมากมาย  โดยเฉพาะ “ไอ้หมูแข้งทอง” ผุดผาดน้อย วรวุฒิ คู่ปรับเก่าอีกคนหนึ่งที่หลังการชกกลายเป็นเพื่อนสนิทรักใคร่ ถือกันอย่างยิ่ง เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ผุดผาดน้อย บวชหน้าไฟเพื่ออุทิศส่วนกุศลถึงเพื่อนรุ่นพี่คนนี้ ด้วยเหตุว่า วิชาญน้อย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มอบน้ำใจต่อเพื่อนเสมอมา และ สกัด พรทวี หรือ สกัด เพชรยินดีนักชกรุ่นน้องร่วมค่าย ทำการไหว้ครูหน้าเมรุท่ามกลางสายฝนเป็นการอาลัยครั้งสุดท้าย

            นอกจากนี้ยังมีอดีตยอดมวยไทยชื่อดังร่วมส่งดวงวิญญาณ มี ขาวผ่อง สิทธิชูชัย, ขุนพลน้อย เกียรติสุริยา,รักเล็ก  ช.ชูตินาวี,ดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์ ,สามารถ พยัคฆ์อรุณ, เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง,ฮิปปี้ สิงห์มณี ,ป่าลั่นน้อย เกียรติอนันต์, ชาญชัย บูรพามิวสิค, สมรักษ์ คำสิงห์ , กุหลาบขาว ณ นนทชัย, จำปาทอง ณ นนทชัย,สมรักษ์ คำสิงห์, แซมซั่น ลูกเจ้าพ่อมเหศักดิ์, ทองแดง ส.ลักขณา ฯลฯ  พร้อมใจกันส่งวิญญาณวิชาญน้อยสู่สรวงสวรรค์